วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การควบคุม Android Stick

Android Stick ต้องมีคีย์บอร์ดหรือเม้าส์เพื่อใช้ในการควบคุม โดยต่อเข้ากับช่อง USB ด้านท้ายของแท่งซึ่งมีช่องเสียบเพียงช่องเดียว แต่เราสามารถเสียบ usb hub เข้าไปเพิ่มให้มันสามารถรองรับอุปกรณ์หลายชิ้นขึ้น ต่อได้ทั้งเม้าส์และคีย์บอร์ดพร้อมกัน หรือจะเสียบ HDD ก็ทำได้ เท่านี้ก็พร้อมใช้งานได้เหมือนกับ Android ทั่วไปแล้วจ้า
ตัวอย่าง usb hub


แต่ถ้าเราต้องนอนเอกเขนกดู Android TV บนเตียงโดยไม่ต้องมีสายเม้าส์หรือคีย์บอร์ดพะรุงพะรังแล้วล่ะก็อาจจะต้องใช้ 1 ใน 2 ทางเลือกนี้คือ

1. คีย์บอร์ดและเม้าส์ ไวร์เลส ( Wireless Mouse & Keyboard) ซึ่งวิธีนี้อาจจะเปลืองหน่อยเพราะว่าบางคนอาจจะต้องซื้อใหม่ ราคาก็ไม่เบาเกือบๆครึ่งนึงของเจ้า Android Stick เลยด้วยซ้ำไปครับ แต่ก็มีข้อดีที่สามารถใช้งานได้สะดวก และเราค่อนข้างชินกับมันอยู่แล้ว
ตัวอย่างเม้าส์และคีย์บอร์ดไวร์เลส

เราอาจจะต้องมีการปรับความเคยชินเมื่อใช้เม้าส์และคีย์บอร์ดเวลาใช้งาน Android TV เล็กน้อยนะครับ

  • ลูกศรเม้าส์ให้คิดว่ามันคือนิ้วของเราที่ใช้เล่นมือถือ ไม่ใช่เม้าส์แบบใน Windows 
  • ใช้ลูกศร (cursor) ลากเลื่อนไปมาเหมือนเวลาเราใช้นิ้วลากบนมือถือ
  • คลิ๊กขวาและปุ่ม Esc คือปุ่ม Back สำหรับยกเลิกคำสั่ง หรือกลับไปยังหน้าก่อนหน้า
  • ไม่มี double click กดทีเดียวก็ออกคำสั่งเลย
  • อยากคลิกขวาเรียกเมนูให้กดลิงก์ค้างเอาไว้แทน
  • หรืออีกทางนึงก็คือใช้ Mouse + Wireless keyboard ขนาดจิ๋วที่ทำขึ้นมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะเลย ซึ่งทางร้านเราก็มีนะ
  • ก่อนใช้งาน keyboard เป็นภาษาไทยได้ ต้องลง App ที่ชื่อว่า Hardware Thai Keyboard ก่อน

2. ถ้าไม่ต้องการเสียเงินเพิ่มหรือต่อสายรุงรังเข้ากับ Android Stick ก็สามารถโหลดแอพที่ทำจำลอง Android ของเราให้กลายเป็นเม้าส์และคีย์บอร์ดเพิ่มเติมได้เหมือนกัน โดยทำการควบคุมผ่าน WiFi


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น